หน้าแรก ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์ /พันธกิจ ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ข้อมูลหมู่บ้าน อำนาจหน้าที่ สถานที่สำคัญ ที่ทำการ อบต.ท่าเจ้าสนุก
กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัคร อสม. อาสาสมัคร อปพร. สภาเด็กและเยาวชน.
การแถลงนโยบายต่อสภา ยุทธศาสตร์การพัฒนา ข้อบัญญัติตำบล ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย แผนพัฒนาตำบล แผนดำเนินการประจำปี แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนการใช้จ่ายงบประมาณ รายปี แผนปฎิบัติป้องกันปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบ
ตำบลท่าเจ้าสนุก มีความเกี่ยวพันกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากพอสมควร ตามพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กล่าวถึงรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์องค์ที่ 21 (ราชวงศ์สุโขทัย) ปกครองกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ.2153-2171 พระองค์เป็นราชโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งมีพี่น้องทั้งหมด 5 พระองค์ คือเจ้าฟ้าสุทัศน์ , เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์(ที่เกิดจากพระมเหสี) และที่เกิดจากพระสนมอีก 3 องค์ คือ พระอินทราชา , พระศรีสิน และพระองค์ทอง เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเสด็จสู่สวรรคตในปี พ.ศ.2153 เจ้าฟ้าสุทัศน์ ซึ่งเป็นราชโอรสองค์โต ได้สิ้นพระชนม์ชีพก่อนได้ขึ้นครองราชย์ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ ได้ขึ้นครองราชแทน ต่อมาก็ถูกพระอินทราชาทำการยึดอำนาจและปลงพระชนม์ พระอินทราชา ก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแทน ทรงพระนามว่า "พระเจ้าทรงธรรม" พระองค์ทรงครองราชย์สมบัติและเสด็จสวรรคตเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2171 มีพระชนมายุเพียง 38 พรรษา มีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ พระเชษฐาธิราช และพระอาทิตย์วงศ์
ในระหว่างครองราชสมบัติ ผู้ว่าราชการเมืองสระบรี ได้มากราบทูลรายงานสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ให้ทราบว่า "พรานบุญ" ซึ่งเป็นพรานป่า ออกล่าเนื้อกวางและได้พบรอยเท้าขนาดใหญ่มีน้ำขังอยู่บนเขา "สัจจพันคีรี" หรือ "สุวรรณบรรพต" ด้วยความเมื่อยล้าอ่อนเพลียจึงได้วักน้ำที่ขังอยู่ขึ้นมาล้างหน้าและตัวเพื่อให้คลายความเมื่อยล้าและอ่อนเพลีย ก็ปรากฏอัศจรรย์แผลและโรคผิวหนังตามตัวที่เป็นอยู่นั้นได้หายไปสิ้น น่าที่จะเป็นรอยประทับพระพุทธบาทขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า กอร์ปกับพระสงฆ์ไทยที่ไปศึกษาพุทธศาสนา ณ ประเทศลังกา ได้ทราบจากฝ่ายสังกาขณะไปนมัสการรอยพระพุทธบาทอยู่ที่เขาสัจจพันคีรี ซึ่งพระพุทธองค์ทรงกดรอยพระบาทไว้คราวเสด็จมาโปรด "สัจจพันคีรีดาบส" ฤาษีผู้หนึ่งที่ภูเขาแห่งนี้ พระสงฆ์ไทยได้เคยมากราบทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงทราบพระองค์ทรงโปรดฯ ให้เจ้าเมืองต่าง ๆ ออกค้นหารอยพระพุทธบาท เมื่อสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทราบความจากทางผู้ว่าราชการเมืองสระบุรีก็ได้เสด็จมาทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง เห็นรอยดังกล่าวมีลายลักษณะเป็นรูปกงจักรประกอบด้วยอัฎฐตรสตมหามงคล 108 ประการตามพระบาลีที่กรุงลังกายืนยันมา และใกล้เคียงกับรอยพระพุทธบาท ตรงตามพุทธทำนายทุกประการ จึงทรงโปรดฯ ให้สร้างมณฑปน้อย ขึ้นสวมรอยพระพุทธบาทดังกล่าว ภายหลังจึงได้สร้างมณฑปใหญ่ครอบไว้อีกชั้นหนึ่งและทรงโปรดฯให้สร้างพุทธสถานรอบๆ วัดพระราชทานให้เป็นอารามหลวงชั้นเอก นับแต่นั้นมาจึงเป็นพระราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ต้องเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาท นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในส่วนของสามัญชนนั้น มีงานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท ปีหนึ่งมี 2 ครั้ง คือกลางเดือน 3 และกลางเดือน 4
เมื่อถึงอำเภอนครน้อย (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอท่าเรือ" ในปีพ.ศ.2459) ทรงจอดเรือพระที่นั่งที่นั่น ทรงโปรดฯ ให้สร้าง "พระตำหนักท่าเจ้าสนุก" ขึ้นมา เพื่อให้ข้าราชบริพารได้ใช้เป็นที่พักผ่อนระหว่างเสด็จพระราชดำเนิน จึงเรียกว่าอำเภอ "นครน้อย" ซึ่งขบวนเสด็จฯ จะมาถึงบริเวณนั้นก็เวลาเย็น ด้วยความเมื่อยล้าอ่อนเพลีย บรรดาเหล่านางสนมกำนัลและข้าราชบริพารที่ตามเสด็จ ต่างก็ลงเล่นน้ำกันเป็นที่สนุกสนาน ต่อมาในภายหลังบริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า "ตำบลท่าเจ้าสนุก" ซึ่งปัจจุบันตัวพระตำหนักดังกล่าวไม่เหลือสภาพเดิมให้เห็นรูปร่างลักษณะ คงมีซากวัสดุเหลือพอสันนิษฐานได้ว่าเป็นพระตำหนักเก่าแก่ก่ออิฐถือปูน เช่น อิฐแผ่น กระเบื้องดิน กองและจมดินอยู่ในบริเวณหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะจมอยู่ใต้พื้นดินเนื่องจากน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ยังมีบ่อน้ำดื่มน้ำใช้ เป็นหลักฐานที่สำคัญ 1 บ่อ ที่สร้างขึ้นในสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ไว้ให้ข้าราชบริพารได้ใช้ตักดื่มกิน สร้างด้วยอิฐฉาบปูน มีขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 6 เมตร ลึกกว่า 50 เมตร ที่ผนังภายในบ่อด้านทิศตะวันออก มีซุ้มประตูเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นบ่อลึกมากขุดต่อมาจากใต้แม่น้ำป่าสัก เวลาน้ำขึ้น น้ำในบ่อก็ขึ้นตามจนเกือบเต็ม ข้าราชบริพารก็สะดวกในการตักใช้ดื่มกินไม่ต้องเดินไปตักที่ริมฝั่ง เวลาน้ำลงก็เดินลงไปตักที่ประตูภายในบ่อ ปัจจุบันบ่อดังกล่าวยังคงสภาพใกล้เคียงกับของเดิม แต่ก็ตื้นเขินไปเยอะ หลักจากพักแรมที่พระตำหนักท่าเจ้าสนุก เป็นเวลา 1 คืน ในวันรุ่งขึ้นพระเจ้าทรงธรรม พร้อมด้วยข้าราชบริพารได้เสด็จขึ้นฝั่งที่ท่าเกยท้องที่อำเภอท่าเรือ อยู่ฝั่งตรงข้ามปัจจุบันคือบริเวณวัดไม้รวก เพื่อทรงช้างพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการรอยพระพุทธบาท